หน้าที่ของ Web Designner
– ทำให้สวย (ไม่สวยแล้วดีไซน์ทำไม)
– ทำให้เว็บน่าจดจำ เกิดเอกลักษณ์เว็บไซต์
– ทำให้ประทับใจคนใช้งาน การออกแบบต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก หมายความว่า ต้องทำให้ง่าย
– นักออกแบบเว็บไซต์ที่ดี ต้องทำได้ทุกแบบ ทุกสไตล์ ฉะนั้นต้องดูงานให้มาก ฝึกฝนให้เยอะครับ
– นักออกแบบเว็บไซต์มีหน้าที่สื่อสารกับคนใช้งานว่า เป็นเหมือนประชาสัมพันธ์ที่ต้องบอกให้ได้ว่า ควรเริ่มจากที่ไหน อย่างไร
Designer กับความสำคัญเว็บไซต์
– Designer คือตำแหน่งที่เป็นหน้าเป็นตากับเว็บเป็นอันดับต้นๆ ถึงแม้ว่าเนื้อหาจะเป็นสิ่งสำคัญหลัก แต่ถ้าเนื้อหายอดเยี่ยม แต่การออกแบบห่วยก็จบ
– ร้อยทั้งร้อย คนส่วนใหญ่ดูที่การออกแบบ ออกแบบไม่โดนใจ คนเข้ามาก็ไม่อยากอยู่นาน เข้ามาดูดเนื้อหาแล้วจากไป 55
หลักการออกแบบ – ความง่าย การเน้น ความเป็นเอกภาพ และสมดุล
– ต้องศึกษาข้อมูลเว็บให้ชัดเจนว่า เกี่ยวกับอะไร กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร จุดประสงค์คืออะไร ทำเว็บขึ้นมาเพื่ออะไร ศึกษาให้ชัดเจน
– วิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้ เลือก Keyword สำหรับใช้งาน 1 เดียวแบบโดนๆ มาทำงาน เช่น เว็บขายเสื้อผ้ามือสอง คียร์เวิร์ด ความเก่า เก่าด้วยอะไร สีซีดๆ บลาๆ
– การออกแบบที่ดีต้อง “สวย” และ “สื่อ” เพราะถ้าสวยหวือหวา แต่คนเข้าไม่รู้ว่าเว็บนี้เกี่ยวกับอะไรก็จบ
– ต้องง่าย ใช้กราฟิกที่เข้าใจได้ง่าย ออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย เช่น เมนูที่ทำให้รู้ว่าเป็นเมนู
– การเน้น กราฟิกมีหน้าที่ส่งเสริมให้เนื้อหาน่าสนใจขึ้น ถ้ากราฟิกเน้นผิดที่ผิดทาง มันก็ไม่ช่วยอะไร ฉะนั้นต้องลำดับความสำคัญว่า อะไรควรเด่น อะไรควรรอง
– ความสมดุล การออกแบบเว็บไซต์ก็เหมือนการวาดภาพ ถ้าขาดความสมดุล มันก็จะดูไม่สวยงาม เว็บส่วนใหญ่ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ Header, Body, Footer
– ความเป็นเอกภาพคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ ถ้าออกแบบแล้วไม่เข้ากัน มันก็จะทำให้ยากต่อการจดจำ และทำให้งง
– เนียบ งานเนียบมีชัยไปกว่าครึ่ง
การเลือกสีให้เหมาะกับงาน
– การออกแบบเว็บไซต์จะใช้สี RGB รวมถึงสื่อทุกประเภทที่ไม่ใช่สื่อสิ่งพิมพ์
– การจัดการกับสีคือ การเลือกสีหลัก และสีรอง
– การเลือกสีต้องดูด้วยว่าอารมณ์ของสีนั้นๆ เหมาะกับพฤติกรรมของเว็บแบบไหน
– สีมีอารมณ์และความรู้สึกของมัน สีที่เป็นกลาง เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายทุกเพศวัย, สีฉูดฉาด สดใส สำหรับวัยรุ่นเป็นต้น
– การคุมสีให้อยู่หมัด ทำได้โดยแบ่งเปอร์เซนต์สีให้ชัด ว่าสีหลักจะใช้แค่ไหน สีรองแค่ไหน โดยทั่วไปนิยมใช้ที่ 70 20 10 โดยทั่วไป การใช้สีนิยมใช้ 3 สี แต่มากหรือน้อยกว่านั้นได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเว็บไซต์
การเลือกฟอนต์ (f0nt.com,Dafont)
– ฟอนต์แต่ละประเภทมีอารมณ์ที่แตกต่างกัน และมีภูมิหลังต่างกัน
– ฟอนต์แบบ Serif ให้ความรู้สึกที่ดูเก่า โบราณ แต่อ่านง่าย เหมาะกับข้อความประเภทเนื้อหา
– ฟอนต์แบบ Sans Serif สำหรับงานที่ต้องการความทันสมัย ให้ความเรียบง่าย
– ฟอนต์ลายมือ Script สำหรับงานที่ไม่ต้องการความเป็นทางการ ความเป็นกลาง แต่ต้องการความสนุกสนาน เป็นมิตร
ลิขสิทธิ์กับ CC
– ปัจจุบันลิขสิทธิ์รูปภาพบนโลกไซเบอร์แรงขึ้น และจริงจังขึ้นทุกวัน การหาภาพจาก Google เป็นอะไรที่อันตรายมาก แต่ก็มีวิธีตรวจสอบ หรือเลือกใช้
– Creative Commons เป็นโครงการที่ทำให้เจ้าของผลงานสามารถให้สิทธิ์แก่ผลงานของตนเองต่อสาธารณะ ได้ และทำให้นักออกแบบมีทางเลือกที่จะได้ภาพสวย และปลอยภัยจากคุกได้มากขึ้น
– การเลือกใช้ภาพจาก Creative Commons ต้องดูให้ดีว่า ภาพนั้นอนุญาตแบบไหนบ้าง เช่น อนุญาตให้นำไปใช้ได้ แต่ต้องแปะลิงค์ หรือบอกเจ้าของผลงาน
อนุญาตให้ใช้ได้ แต่ห้ามดัดแปลง แก้ไข
– http://cc.in.th/
สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการออกแบบ
– การทำให้แบรนด์ของเราเป็นที่ประทับใจ ด้วยโลโก้ ด้วยสี ด้วยเอกลักษณ์ ให้คนจดจำชื่อเว็บให้ได้
– เรามีหน้าที่ส่งเสริมเนื้อหา ไม่ใช่แย่งซีนเนื้อหา ฉะนั้นสิ่งที่ต้องเด่นที่สุดคือเนื้อหา กราฟิก หรือการออกแบบต้องอำนวยให้คนอยากอ่านเนื้อหา ไม่ใช่รบกวน
ดาวน์โหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้อง design-jwc3